เด็กแว้น
คำว่า “แว้น” นั้นมาจากท่อไอเสีย มาดัดแปลงให้เสียงดังขึ้น รวมถึงเสียงดังที่เกิดจากการบิด ซึ่งสมัยก่อนเครื่องยนต์ 2 จังหวะเมื่อบิดจะเกิดเสียงดัง “แว้นๆ”
เด็กแว้น เด็กที่มีรถมอเตอร์ไซค์แล้วนำมาดัดแปลงตามความชอบและซิ่งมอเตอร์ไซค์
แก๊งซิ่ง
มาจากเด็กแว้นที่รวมตัวกันเป็นแก๊งใหญ่ๆ
มาดัดแปลงรถและซิ่งมอเตอร์ไซค์
สาเหตุที่ทำให้เป็นเด็กแว้น
2.เพื่อนชักชวน ทำตามเพื่อนและตาม กระแสนิยม
3.พ่อแม่ตามใจเกินจึงทำให้ลูกทำตามใจตน เองมากเกินไป
4.มองว่าการกระทำของเด็กแว้นนั้นมีความเท่ (เห็นกงจักรเป็นดอกบัว)
5.ชอบก่อความวุ่นวาย เรียกร้องความสนใจ
6.ชอบความเสี่ยง
ท้าทายกฎหมาย ท้าทายกฎของสังคม
ความคิดเห็นของประชาชนต่อเด็กแว้น
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
เรื่อง “เด็กแว้น ซิ่งป่วนเมือง”
ระหว่างวันที่ 24-27 ตุลาคม 2555 จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,258 คน
ทุกเขตพื้นที่ ทุกระดับการศึกษาและกลุ่มอาชีพ
ความคิดเห็นของเด็กแว้น
สมาชิกเลข
717048 Pantip.com กล่าวว่า
“พวกเขาต่างก็มีความสุขร่วมกัน ทำแล้วมีความเท่ สาวๆ ชอบ
ยิ่งรถคันไหนที่แต่งรถเยอะ ๆ ท่อดังๆ ก็จะมีสก๊อยสาวสวยมานั่งซ้อนท้าย
พ่อแม่ต่างก็ไม่เข้าใจ ใครๆ ก็พากันเกลียด
ก็มีแต่พวกเขาเองที่ทำแล้วมีความสุขร่วมกัน พวกขับ Big
Bike ท่อดังๆ ยังทำได้ ทำไมเด็กแว้น
อย่างพวกเราจะทำไม่ได้ พวกผมออกมาซิ่งกันเพื่อหาประสบการณ์ นักซิ่งเก่งๆ
ก็ต้องซิ่งบ่อยๆ คนเรามันรักอะไร
ชอบอะไรไม่เหมือนกัน พวกผมชอบ 2 ล้อ ชอบซิ่ง ชอบท้าทาย มันก็สิทธิเสรีภาพของพวกผม
ใจพวกผมมันรัก ห้ามไม่ได้หรอก”
เด็กกับการตายจากมอเตอร์ไซค์
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี ท่านรัฐมนตรีช่วยคมนาคมได้ให้ข่าวจากศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุวันสงกรานต์ว่าการตายจากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์นั้น
หนึ่งในสี่เป็นการตายในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี
ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่ามอเตอร์ไซค์เป็นสิ่งที่คุกคามต่อสุขภาพเด็ก
แต่ปัญหานี้ได้ถูกละเลยทั้งจากสังคม ชุมชน หรือแม้แต่ในครอบครัวเองมาโดยตลอด
พบว่าเด็กที่เสียชีวิตจากการเดินทางในเขตจังหวัดนครราชสีมา
สาเหตุหลักคือมอเตอร์ไซค์ ทั้งที่เป็นผู้ขับขี่เองหรือเป็นผู้โดยสาร
โดยมีปัจจัยเสี่ยงคือ ผู้ขับขี่อายุน้อยกว่าเกณฑ์ 15 ปี ไม่สวมหมวกกันน็อคและเมาสุราขณะขับขี่ยานพาหนะ
ซึ่งมีทั้งผู้ใหญ่เมาขับชนเด็กและเด็กเมาเอง
เด็กชนบทขับขี่มอเตอร์ไซด์ได้ตั้งแต่อายุ 11-12
ปี เด็กเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตเมื่อเทียบกับผู้ขับขี่ผู้ใหญ่
เนื่องจากเด็กเป็นผู้ขับขี่มือใหม่ (novice
driver) ซึ่งยังขาดประสบการณ์ในการขับขี่
ทั้งการขับขี่มอเตอร์ไซด์เองก็เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนที่ต้องอาศัยทั้งความรู้
ความสามารถของระบบประสาท และการตัดสินใจที่ดี
เด็กมักจะมีความสามารถในการรับรู้และตอบสนองอันตรายได้น้อย
ความสามารถในการควบคุมเครื่องยนต์ไม่ดี การคาดประมาณความเร็วที่ใช้และระยะทางที่ควรหยุดไม่เหมาะสม
เด็กยังมีความสามารถที่ไม่ดีพอในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ
นอกจากนั้นเด็กขับขี่เองเป็นเด็กในระยะวัยรุ่นที่มักมีพฤติกรรมเสี่ยงอันตราย
(risk
taking behaviour) เนื่องจากแรงผลักดันภายในให้เกิดความต้องการที่จะเสี่ยง
(risk
homeostasis) ในระดับหนึ่งของวัยรุ่นซึ่งสูงกว่ากลุ่มวัยอื่น
ทั้งนี้อาจมีแรงเสริมจากอารมณ์ของวัยรุ่น แรงผลักดันจากเพื่อน และความเครียดอื่นๆ
พฤติกรรมเสี่ยงอันตรายในวัยรุ่นพบได้ในสถานการณ์การขับขี่ปกติ เช่น การขับขี่ด้วยความเร็วสูง
การแซงกระชั้นชิด การเบรกในระยะประชิด การเลี้ยวตัดหน้า เป็นต้น
นอกจากนั้นความชอบเสี่ยงยังทำให้วัยรุ่นเลือกขับขี่ในสถานการณ์ท้าทายต่างๆ เช่น การขับแข่งขัน การขับโลดโผน
การขับกลางคืน ขับโชว์สาว
การขับกลางคืนมีความเสี่ยงต่อการตายสูงกว่าการขับในเวลากลางวันถึง 4 เท่า
ในความเป็นจริงแล้วกฎหมายไทยกำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่าเด็กอายุน้อยกว่า 15
ปีไม่สามารถขับขี่มอเตอร์ไซด์ทุกชนิดได้
กฎหมายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน
มาตราที่ 73
เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ
มาตราที่
74 เด็กอายุกว่า 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปี
กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ
แต่ศาลมีอำนาจในการดำเนินการต่อไปนี้
(1) ว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยตัวไป
หรือถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกผู้ปกครองมาตักเตือนด้วยก็ได้
(2) ถ้าศาลเห็นว่า
ผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กคนนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัว
โดยวางข้อกำหนดใหผู้ปกครองระวังไม่ให้เด็กก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ไม่เกิน 3 ปีและกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร
ซึ่งผู้ปกครองจะต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละหนึ่งพันบาท
(3)
ในกรณีที่ศาลมอบตัวเด็กให้แก่ผู้ปกครอง
ศาลจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้น
(4) ถ้าเด็กไม่มีผู้ปกครองหรือมี
แต่ศาลเห็นว่าไม่สามารถดูแลเด็กได้
ศาลจะมีคำสั่งมอบตัวเด็กให้อยู่กับบุคคลหรือองค์การเพื่ออบรมและสั่งสอนตามระยะเวลาที่กำหนด
(5)
ส่งตัวเด็กไปโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรม
ตลอดระยะเวลาที่ศาลกำหนดแต่อย่าให้เกินกว่าเด็กจะมีอายุครบ 18 ปี
มาตรา
75 ผู้ใดอายุกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน
17 ปี
กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ศาลจะพิจารณาว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่
ถ้าศาลเห็นว่าไม่สมควรพิพากษาลงโทษก็ให้จัดการตามมาตรา 74 แต่ถ้าศาลเห็นควรพิพากษาลงโทษ
ก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง
มาตราที่
76 ผู้ใดอายุกว่า 17 ปีแต่ไม่เกิน
20 ปี
กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดสำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้
มาตรา
77 ในกรณีที่ศาลวางข้อกำหนดให้ผู้ปกครอง
ระวังเด็กไม่ให้ก่อเหตุร้าย ถ้าเด็กก่อเหตุร้ายภายในเวลาที่กำหนด
ศาลมีอำนาจบังคับผู้ปกครองให้ชำระเงินไม่เกินจำนวนในข้อกำหนดภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควร
พรบ.พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยรถ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยรถ หรือ พรบ.
คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ พ.ศ.2535
รัฐบาลได้ตรากฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกัน
พรบ.
หากไม่ทำ
พรบ.จะมีความผิดตามกฎหมาย
มีโทษปรับไม่เกิน 1,000
บาท รถที่จะต่อภาษีประจำปีต้องทำ
พรบ. ก่อนจึงจะสามารถต่อภาษี (ต่อทะเบียน) ได้
ประกันพรบ.
เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะตัวบุคคลที่ประสบภัยจากรถเท่านั้น
อัตราเบี้ย
พรบ. สำหรับรถจักรยานยนต์
คำนวณจากขนาดเครื่องยนต์ ดังนี้
ไม่เกิน 75 CC ราคา
161.57
บาท
เกิน 75 CC ถึง
125
CC ราคา
323.14 บาท
เกิน 125
CC ถึง 150
CC ราคา 430.14 บาท
เกิน 150
CC ราคา 645.21
บาท
นอกจากนี้ หากรถมีอายุการใช้งาน 5 ปีหรือ
7 ปีไปแล้ว
จะต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพโดย ตรอ. เพื่อรับรองการตรวจสภาพรถอีกด้วย
การแก้ปัญหาเด็กแว้น
นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์
อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นประธานเปิดการเสวนาเรื่อง “เลี้ยงลูกอย่างไร
ไม่เป็นเด็กแว้น-สก๊อย” เพื่อหามาตรการป้องกันปัญหาการซิ่งมอเตอร์ไซค์
ซึ่งประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นแก้ปัญหานี้ได้เพราะแก๊งยากูซ่าเก็บค่าคุ้มครองการใช้ถนนซิ่ง
ส่วนประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีกฎหมายมากที่สุด แต่บังคับใช้กฎหมายน้อยที่สุด
ปัญหาจึงยังคงมีอยู่ คงห้ามลำบาก ดังนั้น การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด รวมทั้งจับตาร้านตกแต่งรถ
เพราะทราบมาว่าร้านเหล่านี้เป็นผู้สนับสนุนให้มีการแข่งรถ
ใครซิ่งชนะทำให้ร้านได้รับความนิยมเข้าไปใช้บริการ
การที่ยังมีเด็กแว้นอาจมาจากจุดนี้ก็ได้ ดังนั้นทุกส่วนควรหันหน้ามาพูดคุยกัน 7
ข้อปฏิบัติสำหรับป้องกันเด็กแว้น-สก๊อย คือ
2.สอนให้ลูกนับถือตนเองและเคารพผู้อื่น
3.อย่าให้ลูกได้อะไรง่าย
ๆ เกินไป ต้องหัดให้รู้จักพึ่งตนเอง
4.สนับสนุนให้ลูกมีกิจกรรมสร้างสรรค์
5.ควบคุมอารมณ์ของพ่อแม่
โดยรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับลูก สื่อสารทางบวก
6.หากห้ามลูกใช้มอเตอร์ไซค์ไม่ได้
ให้พ่อแม่สร้างอุปสรรคในทางสร้างสรรค์ เช่น มอบหมายให้ทำงาน
7.พ่อแม่ต้องมีกำลังใจ
อย่าย่อท้อกับอุปสรรค ปัญหาต้องอาศัยเวลาในการแก้ไข
ตัวอย่างการแก้ปัญหาเด็กแว้น
บุรีรัมย์โมเดล - จัดระเบียบเด็กแว้น
(โดย
ไทยรัฐออนไลน์ 8 มิ.ย. 2558)
นายเนวิน
ชิดชอบ ประธานสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บอกว่า
การแก้ปัญหาเด็กชอบขี่รถจักรยายนต์เร็วๆ ไม่ใช่แก้โดยเอาตำรวจไปไล่จับ
แต่ต้องให้ตำรวจมาช่วยจัดระเบียบและหาที่ให้พวกเขาได้ซิ่ง
แนวคิดแบบ
"เนวินสไตล์" โดยการแบ่งแทร็กทางตรงของสนามช้างอินเตอร์เนชันแนลเซอร์กิต
พร้อมเนรมิตรเลนให้เด็กไทยหัวใจรักความเร็วได้ประลองความเร็วทุกวันศุกร์
โดยมีกติกาง่ายๆแค่
3 ข้อ คือ 1. ให้สวมหมวกกันน็อคขณะซิ่งทุกครั้ง
2. ต้องสวมรองเท้าผ้าใบหรือหุ้มส้นเข้าสนามเท่านั้น
3. ห้ามไปซิ่งตามถนนหลวงอีกไม่เช่นนั้นจะยกเลิกจัดงาน
ทั้งนี้หากทุกคนทำตามกติกาอย่างเคร่งครัด พร้อมพิจารณาเพิ่มวันซิ่งอีกด้วย
สำหรับผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็็นเกี่ยวกับเด็กแว้น หรือมีสิ่งที่ต้องการจะบอกเด็กแว้น เขียนข้างล่างนี้ได้เลย